การทำงาน ของ ธรรมนูญ ฤทธิมณี

งานราชการ

ธรรมนูญ ฤทธิมณี รับราชการเป็นอาจารย์สังกัดกรมอาชีวศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนเกษตรกรรมพิษณุโลก จนได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรม ในปี พ.ศ. 2517 เขาจึงได้ย้ายกลับมาปฏิบัติราชการที่กรมอาชีวศึกษา กระทั่งในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาขึ้น รศ.ธรรมนูญ จึงได้โอนมาสังกัดวิทยาลัย และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2531 สืบต่อจากศาสตราจารย์ อนันต์ กรุแก้ว[2] และในปีเดียวกันนี้ ได้มีการยกฐานะวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล" และในปี พ.ศ. 2535 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นอธิการบดีอีกวาระหนึ่ง[3] นับเป็นอธิการบดีคนแรกในนามสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

ธรรมนูญ ฤทธิมณี เกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2538 ในตำแหน่งสุดท้ายคือ รองศาสตราจารย์ ระดับ 10[4] และหมดวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดี ในปี พ.ศ. 2539

งานการเมือง

หลังเกษียณอายุราชการแล้ว รศ.ธรรมนูญ ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ลำดับที่ 86 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ใกล้เคียง

ธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1931) ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ธรรมนูญ เทียนเงิน ธรรมนูญ 08 ธรรมนูญ ทัศโน ธรรมนูญ ฤทธิมณี ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ธรรมนูญแคลเร็นดอน ธรรมนูญผู้ใช้แรงงาน ค.ศ. 1351 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534